หน้าเว็บ

31/8/55

นอกสภาถนัดกว่า!"บังยี"สวนหมัด"ศุภชัย"

นอกสภาถนัดกว่า!"บังยี"สวนหมัด"ศุภชัย"

“บังยี” ฝากบอก “ศุภชัย” ถ้าไม่รู้จริงอย่าเพิ่งกล่าวหา พร้อมแจงเรื่องงบอุดหนุนประจำปีจาก กกท. ได้แค่ปีละ 3 ล้านบาท แค่เงินเดือนพนักงานยังไม่พอจ่าย ส่วนการตั้ง “ทีพีแอล” ถ้าสมาคมไม่ก่อตั้งขึ้นมาแล้วจะให้ใครตั้ง เป็นตามหลักสากลทั่วโลก กรณีที่ให้ “สยามสปอร์ต” ดำเนินการด้านสิทธิประโยชน์ เป็นการขอร้องให้มาช่วยมากกว่า เพราะเมื่อ 10 ปีกว่าที่แล้ว ไม่เคยมีใครมาเหลียวแล “ไทยลีก” เลย ขณะที่ “วิมล” อยากให้ “ศุภชัย” ให้เกียรติผู้เข้าร่วมประชุมด้วย หลังโดนชี้หน้ากลางที่ประชุม
arsenal pics
“บังยี” นายวรวีร์ มะกูดี นายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า "จากการที่ตนและสภากรรมการสมาคมฯ หลายท่านได้เข้าเข้าชี้แจงเรื่องข้อสัญญาและการปฏิบัติหน้าที่ของสมาคมฟุตบอลฯ กับคณะกรรมาธิการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ สภาผู้แทนราษฎร (กมธ.ป.ป.ช.ส.ส.) เมื่อ 30 ส.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งตนและคณะได้ตอบคำถามต่อที่ประชุมไปแล้ว แต่ว่า ภายหลังการประชุม และตนได้เดินทางกลับมาแล้ว นายศุภชัย ใจสมุทร โฆษกพรรคภูมิใจไทย หนึ่งใน กมธ.ป.ป.ช. ยังมีคำถามที่ติดค้างและฝากถามมายังตนอีกหลายข้อ ดังนั้นตนก็ขอชี้แจงผ่านสื่อมวลชนในประเด็นต่าง ๆ ที่นายศุภชัยอยากทราบ รวมทั้งจะอธิบายเสริมในประเด็นที่ตนได้ชี้แจงแล้วในที่ประชุม เผื่อว่า นายศุภชัย อาจจะยังไม่เข้าใจ หรือไม่มีความรู้ในเรื่องนี้อย่างถ่องแท้ ที่สำคัญก็อย่าเพิ่งกล่าวหาคนอื่นให้เสียหาย"

นายวรวีร์ กล่าวว่า "ประเด็นแรกที่ นายศุภชัย พูดในที่ประชุมว่า ถึงแม้สมาคมฟุตบอลฯจะเป็นนิติบุคคล แต่มีคำว่า “แห่งประเทศไทย” ต่อท้ายชื่อสมาคมอยู่ และได้รับเงินสนับสนุนจากการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ซึ่งเงินดังกล่าวมาจากภาษีประชาชน ดังนั้นสมาคมฟุตบอลฯ จึงต้องแจกแจงว่านำเงินไปใช้ทำอะไร ตนขอบอกตรงนี้เลยว่า สมาคมฯ ได้รับเงินอุดหนุนจาก กกท. ซึ่งมาจาก “ภาษีประชาชน” เพียงปีละ 3 ล้านบาทเศษ เป็นงบบริหารจัดการ ซึ่ง กกท. ได้อุดหนุนทุกสมาคมกีฬาอยู่แล้ว โดยสมาคมฟุตบอลฯ ต้องมาค่าใช้จ่ายเงินเดือนเจ้าหน้าที่ตกเดือนละ 8 แสนกว่าบาท ปีหนึ่งใช้ราว 10 ล้านบาท สมาคมฯ ต้องหางบมาเพิ่มเองเพื่อให้พอต่อค่าใช้จ่าย"

“บังยี” กล่าวอีกว่า "ส่วนประเด็นที่นายศุภชัยบอกว่า สมาคมฟุตบอลฯ มีอำนาจอะไรในการก่อตั้งบริษัท ไทยพรีเมียร์ลีก จำกัด (ทีพีแอล) คำถามนี้ฟังดูแล้วตลกมาก ก็เนื่องจากสมาคมต้องปรับเปลี่ยนการจัดการแข่งขันให้เข้ากับแนวทางของสมาพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย (เอเอฟซี) ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงการแข่งขันฟุตบอลเอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ลีก ให้เป็นสากล หากสมาคมฟุตบอลฯ ไม่ก่อตั้ง “ทีพีแอล” แล้วจะให้องค์กรไหนมาตั้ง ดูอย่างประเทศอังกฤษ สมาคมฟุตบอลอังกฤษ หรือ เอฟเอ ก็ก่อตั้งพรีเมียร์ลีก ให้มาจัดการแข่งขันให้ หรือสมาคมฟุตบอลญี่ปุ่น ก็ตั้ง “เจลีก” มาจัดการแข่งขันลีกอาชีพในประเทศ ความจริงคำถามนี้ไม่น่าถามมาให้เสียเวลาการประชุมด้วยซ้ำ ส่วนเรื่องผู้ถือหุ้น “ทีพีแอล” ยังเป็นเพียงบริษัทจำกัด ดังนั้นก็ไม่ได้เปิดให้บุคคลภายนอกมาถือหุ้น การบริหารจัดการยังเป็นภายใน เพราะเริ่มเพิ่งเติบโตมาไม่กี่ปี ในอนาคตหากเติบโตมากกว่านี้ก็เป็นไปได้ว่าจะจดทะเบียนเป็น “มหาชน”

“สำหรับประเด็นสิทธิประโยชน์ของสมาคม นายศุภชัย สงสัยว่าเหตุใดสมาคมฟุตบอลฯ จึงให้ บมจ.สมายสปอร์ต ซินดิเคท มาดำเนินการให้ ผมขอเรียนให้ทราบว่า ฟุตบอลไทยลีกยุคใหม่นี้เริ่มแข่งมาตั้งแต่ พ.ศ.2539 ซึ่งก็ทราบกันดีว่าช่วงแรกล้มลุกคลุกคลานกันมาตลอด หาแฟนบอลมาชมแทบไม่ได้ ขนาดจ้างบริษัทฝรั่งมาช่วยดำเนินการก็ยังไปไม่ไหว สปอนเซอร์กี่ราย ต่างก็ถอดใจหนีไปกันหมด สมาคมฟุตบอลฯ จึงไปขอร้องให้ สยามสปอร์ตฯ มาช่วย เพราะเห็นว่ามีสื่อครอบคลุมทุกแขนง ซึ่งคุณระวิ โหลทอง ประธานใหญ่ ก็ยินดีช่วยเต็มที่ เพราะต้องการพัฒนาวงการฟุตบอลไทยให้ก้าวหน้า ที่ผ่านมา สยามสปอร์ตฯ ทุ่มเทงบประมาณไปหลายร้อยล้านบาท จนฟุตบอลอาชีพเกิดกระแสตื่นตัวอย่างรวดเร็ว บอกตากมตรงว่าตอนนั้นหากไม่ได่สยามสปอร์ตฯ ช่วย ฟุตบอลลีกไทยคงไม่มาถึงจุดนี้ เพราะไม่มีใครมาสนใจเหลียวแลเลย” นายวรวีร์กล่าว

ด้าน นายวิมล กาญจนะ อุปนายกสมาคมฟุตบอล กล่าวว่า "ตนจะเสนอให้นายกสมาคมฯ เชิญสภากรรมการบริหารประชุมวาระพิเศษ เพื่อขอมติที่ประชุมว่าในการเข้าไปชี้แจงต่อ กมธ.ป.ป.ช. คราวหน้าเราควรามีขอบเขตในการชี้แจงแค่ไหน และขอให้ กมธ.ป.ป.ช. ได้ส่งประเด็นที่ต้องการทราบมาล่วงหน้า เราจะได้เตรียมข้อมูลไปตอบให้กระจ่าง อยากฝากถึงนายศุภชัยว่า ขอให้ถามอยู่ในประเด็น และที่สำคัญควรให้เกียรติผู้เข้าร่วมประชุมด้วย สภากรรมการทุกท่านอาสามาทำงานร่วมกัน เสียสละร่วมกัน แม้จะถูกตำหนิติติงจากแฟนบอลบ้างก็น้อมรับ แต่ทุกท่านมีเกียตริ มีหน้าที่การงานทางสังคม จึงไม่อยากให้ใครมาถูกชี้หน้าตามว่า “คุณเป็นใคร” กลางที่ประชุมเหมือนที่ตนเองประสบมาเมื่อวันก่อน"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น